หลักการใช้ Pronoun ฉบับเข้าใจง่าย
หากเราจะเรียกใครสักคนหรือสิ่งของสักอย่างด้วยคำอื่นๆในภาษาไทยคงไม่ใช่เรื่องยากอะไรครับ เช่น เขา หล่อน เอ็ง นายท่าน คุณผู้หญิง โอ้ย! เยอะแยะสารพัดไปหมดครับ และในภาษาอังกฤษก็มีหลายคำที่เราสามารถใช้เรียกแทนชื่อคน หรือเรียกแทนสิ่งของต่างๆได้เช่นกัน
คำที่เราใช้เรียกแทนคน สัตว์ สิ่งของ สถานที่ (noun) หรือคำที่ใช้แทนคำที่เคยกล่าวไปแล้วหรือคำที่กำลังจะกล่าว เพื่อเป็นการหลีกเลี่ยงการใช้คำที่ซ้ำซ้อนในประโยคๆหนึ่ง คำกลุ่มนั้นเราจะเรียกว่า คำสรรพนาม (Pronouns) โดย Pronoun นั้นจะมีคุณสมบัติเหมือนกับคำนามทุกอย่าง นั่นคือสามารถเป็นได้ทั้งประธานและเป็นได้ทั้งกรรมของประโยค (แต่ถ้ามีใครถามว่า อะไรคือประธานและกรรมค่ะ? ตอบเลยครับว่า Google อิอิ)
Pronouns ในภาษาอังกฤษสามารถแบ่งออกได้ถึง 7 กลุ่มด้วยกันครับ (ไม่น้อยเลยว่าไหมครับ แต่เชื่อผมเหอะครับว่าไม่ยาก)
1. Personal Pronoun (บุรุษสรรพนาม)
คือ สรรพนามที่ใช้แทนบุคคล หรือสิ่งของที่เราพูดถึง แบ่งออกได้อีกเป็น
- บุรุษสรรพนามที่ 1 (ตัวผู้พูด) ได้แก่ I และ we
- บุรุษสรรพนามที่ 2 (ตัวผู้ฟัง) ได้แก่ you
- บุรุษสรรพนามที่ 3 (สิ่งที่เราพูดถึง) ได้แก่ he, she, it, they
เช่น Preeda likes to swim. He is a swimmer.
ปรีดาชอบว่ายน้ำ เขาเป็นนักว่ายน้ำ. (ในที่นี้ใช้ He แทน Preeda)
ปรีดาชอบว่ายน้ำ เขาเป็นนักว่ายน้ำ. (ในที่นี้ใช้ He แทน Preeda)
I have a pet. It is a cat.
ฉันมีสัตว์เลี้ยงหนึ่งตัว มันคือแมว (ในที่นี้ใช้ It แทน cat)
ฉันมีสัตว์เลี้ยงหนึ่งตัว มันคือแมว (ในที่นี้ใช้ It แทน cat)
2. Possessive Pronoun (สรรพนามเจ้าของ)
คือ สรรพนามที่ใช้แสดงความเป็นเจ้าของ ได้แก่ mine, yours, his, hers, its, theirs, ours
ส่วนนี้ขอเน้นเลยนะครับ
*** mine, yours, his, hers, its, theirs, ours คือ Pronoun นั่นคือทำหน้าที่เหมือนคำนาม แต่
*** my, your, his, her, its, their, our คือ Possessive Adjective นั่นคือต้องมีคำนามก่อนถึงจะขยายได้
*** his, her, its ไม่ว่าจะรูปของ Pronoun หรือ Adjective ก็เขียนเหมือนกัน ดังนั้นเวลาใช้ต้องดูประโยคดีๆนะครับ
เช่น It’s mine. (มันเป็นของฉัน)
Her is on the table. (ของเขาวางอยู่คนโต๊ะ)
3. Reflexive Pronouns (สรรพนามตนเอง)
คือ สรรพนามที่ใช้บอกว่าดัวยตัวของ…..เอง เป็นคำที่มี –self/-selves ลงท้าย ได้แก่ myself, yourself, himself, herself, itself, ourselves, yourselves, themselves
เช่น I am not myself today.
วันนี้ฉันไม่เป็นตัวเองเลย (รู้สึกไม่ค่อยมั่นใจ กังวล)
วันนี้ฉันไม่เป็นตัวเองเลย (รู้สึกไม่ค่อยมั่นใจ กังวล)
You have to tell him the truth yourself.
เธอควรจะบอกความจริงกับเขาด้วยตัวของคุณเอง
เธอควรจะบอกความจริงกับเขาด้วยตัวของคุณเอง
4. Definite Pronoun (หรือ Demonstrative Pronouns, สรรพนามเจาะจง)
คือ สรรพนามที่บ่งชี้ชัดเจนว่าแทนสิ่งใด ได้แก่ this, that, these, those
เช่น That is incredible!
นั่นมันเหลือเชื่อจริงๆ (เป็นการย้ำถึงสิ่งที่ผู้พูดและพูดฟังเห็น)
นั่นมันเหลือเชื่อจริงๆ (เป็นการย้ำถึงสิ่งที่ผู้พูดและพูดฟังเห็น)
These are Pikul’s bag.
นี่เป็นกระเป๋าของพิกุล (เป็นการย้ำถึงสิ่งที่ผู้พูดและพูดฟังเห็น)
นี่เป็นกระเป๋าของพิกุล (เป็นการย้ำถึงสิ่งที่ผู้พูดและพูดฟังเห็น)
5. Indefinite Pronoun (สรรพนามไม่เจาะจง)
คือ สรรพนามที่ได้ได้เน้นเฉพาะว่าเป็นใครหรือสิ่งไหน ได้แก่
everyone, everybody, everything, someone, somebody, something, anyone, anybody, anything, each, another, either, one, no one, nobody, nothing, neither, others, many, several, both, few, all, more, most, some, such, any, none
everyone, everybody, everything, someone, somebody, something, anyone, anybody, anything, each, another, either, one, no one, nobody, nothing, neither, others, many, several, both, few, all, more, most, some, such, any, none
สรรพนามกลุ่มนี้ค่อนข้างเยอะมากดังนั้นขอให้ค่อยๆเป็นค่อยๆไปนะครับ
เช่น Everybody loves somebody.
คนทุกคนย่อมมีความรักใครสักคน (ไม่ได้ชี้เฉพาะมีว่าใครรักใคร)
คนทุกคนย่อมมีความรักใครสักคน (ไม่ได้ชี้เฉพาะมีว่าใครรักใคร)
Nobody is perfect.
ไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ (ไม่ได้ชี้เฉพาะว่าใคร)
ไม่มีใครที่สมบูรณ์แบบ (ไม่ได้ชี้เฉพาะว่าใคร)
6. Interrogative Pronoun (สรรพนามคำถาม)
คือ สรรพนามที่ใช้ในการถามคำถาม ได้แก่ Who, Which, What
เช่น What happened!
เกิดอะไรขึ้น (มีสิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่ผู้พูดและฟังไม่ทราบว่าหมายถึงสิ่งใด)
เกิดอะไรขึ้น (มีสิ่งที่เกิดขึ้นโดยที่ผู้พูดและฟังไม่ทราบว่าหมายถึงสิ่งใด)
Who is the “Man of the match”?
ใครคือนักเตะยอดเยี่ยมประจำเกมนี้
ใครคือนักเตะยอดเยี่ยมประจำเกมนี้
7. Relative Pronoun (สรรพนามเชื่อมความ)
คือ สรรพนามที่ใช้แทนคำนามในประโยคหน้า และยังเชื่อมให้ประโยคสองประโยคมีความหมายไปในทางเดียวกัน ได้แก่ who, which, that
เช่น The book that she wrote was the best-seller
หนังสือเล่มที่หล่อนเขียนเป็นหนังสือขายดี (ใช้ that แทน the book)
หนังสือเล่มที่หล่อนเขียนเป็นหนังสือขายดี (ใช้ that แทน the book)
The girl who is crying was punished by her mother.
เด็กผู้หญิงคนที่กำลังร้องไห้ถูกลงโทษโดยแม่ของเธอ (ใช้ who แทน the girl)
เด็กผู้หญิงคนที่กำลังร้องไห้ถูกลงโทษโดยแม่ของเธอ (ใช้ who แทน the girl)
มาดูตารางสรุปกันดีกว่าครับ
ไม่ใช่แค่คำเรียกแทนคำนามในภาษาไทยนะครับที่เยอะ ในภาษาอังกฤษก็ไม่น้อยไปกว่ากันเลย แต่ถึงจะเยอะสักแค่ไหนเราก็ไม่หวั่นใช่ไหมครับ เพราะว่าเรื่องนี้ไม่ยากเลย เป็นเรื่องที่เราใช้กันทุกวันอยู่แล้ว เพียงแต่เราไม่รู้แค่นั้นเองครับว่าคำที่เราพูดเหล่านั้นคือคำสรรพนามหรือ Pronoun
แต่ถึงอย่างไร ไม่ว่าเรื่องนี้จะยากหรือไม่ยากเราก็ไม่ควรจะวางใจนะครับ เพราะภาษาอังกฤษไม่ใช่ภาษาของเรา ดังนั้นการฝึกฝนบ่อยๆเท่านั้นครับที่จะทำให้เราเก่งขึ้น
ความคิดเห็น
แสดงความคิดเห็น